กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำชุมชน

การสร้างฝายชุมชนชะลอน้ำบ้านห้วยหกองก้าดเป็นการบริหารจัดการน้ำขององค์กรชุมชนด้วยตนเอง โดยการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาของชนเผ่ากะเหรี่ยง   การสร้างชะลอน้ำเป็นระบบการพักน้ำช่วงระยะเวลาหนึ่งของลำห้วยขนาดเล็กที่อยู่รอบๆของชุมชน  โดยที่ไม่ให้น้ำไหลไปทั้งหมดเพื่อให้น้ำหยุดพักตรงระยะที่จะสร้างฝาย  ซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมของชุมชนก่อให้เกิดแหล่งน้ำ  หรือแหล่งพักน้ำชั่วคราวของลำห้วยชุมชนขนาดเล็ก  จะทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำต่างๆได้มาพึ่งพาอาศัยและจะมีแหล่งพักเก็บน้ำอยู่ได้ตลอดปี โดยเฉพราะหน้าร้อนซึ่งลำห้วยเล็กๆจะแห้งขอด  ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำและสัตว์ป่าที่อยู่พึ่งพาอาศัยรวมถึงสรรพสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ขาดความสมดุลของธรรมชาติที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง   การจัดทำฝายชะลอน้ำเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ คนกับสิ่งแวดล้อมหรือคนกับคนที่จะต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นประโยชน์ที่เกื้อกูลต่อกัน   เป็นการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมความเชื่อ องค์ความรู้  การจัดการระบบสิ่งแวดล้อมของชุมชนกะเหรี่ยงได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

 การจัดทำฝายชุมชนบ้านห้วยกองก้าด เกิดจากความต้องการของชุมชนโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ผ่านเวทีการประชุมของชุมชนโดยมีความเห็นร่วมกันว่าต้องการให้มีการจัดสร้างฝายชุมชนขึ้นเพื่อเป็นสืบสานวัฒนธรรมและและเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรักความสำนึ สามัคคีของคนชุมชนในการฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเป็นการสร้างแหล่งน้ำที่พักให้กับกับสัตว์ป่าต่างๆในช่วงฤดูกาลที่แห้งแล้งซึ่งสัตว์ป่าสามารถมาพักและอาศัยแหล่งตรงนั้นได้  กิจกรรมสร้างฝายชุมชนบ้านห้วยกองก้าดเป็นกิจกรรมที่หลอมรวมผู้คนในชุมชนเกิดจิตอาสาในการดูแลปกป้องสืบสานวัฒนธรรมองค์ความรู้ภูมิปัญญาของชุมชนชาติพันธุ์ ให้เกิดการจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ  ดิน  น้ำ  ป่า  ของชุมชนตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลง สมดุลและยั่งยืน การจัดกิจกรรมครั้งนี้โดยมีภาคีเข้าร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสาละวิน มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ หน่วยทหารในพื้นที่ หน่วยงานอบต.แม่สามแลบและประชาชนจิตอาสาทั่วไป

 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ชุมชนบ้านห้วยกองก้าด ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน